เมื่องานอดิเรกคือความหลากหลายให้ได้เรียนรู้

ตอนที่แล้วเราได้พูดถึงทักษะงานอดิเรกที่ไปสอดคล้องกับแนวคิดของ Lean thinking แนวคิดที่องค์กรหลายแห่งในยุคโควิด 19 ได้นำมาใช้ในองค์กร เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันที่สังคมมี  ความหลากหลายในรูปแบบการใช้ชีวิต ตลอดจนสนับสนุนให้ทักษะของมนุษย์มีมากว่าหนึ่งทักษะที่เชี่ยวชาญ ไม่ใช่แค่ทักษะที่เกิดจากอาชีพเท่านั้น  แต่ยังสามารถเพิ่มพูนทักษะอื่นๆที่อยู่ในงานอดิเรก ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กีฬา มาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย

ทำไมเราจึงต้องมีงานอดิเรก ทำไมดนตรี กีฬาถึงกลายเป็นแหล่งจุดพลังที่ให้ทักษะมากกว่าที่เราคิด เพราะทักษะที่เกิดขึ้น "สร้างความสมดุลให้กับชีวิต พัฒนาทั้งศาสตร์และศิลป์ในตัวเองโดยที่ไม่รู้ตัว"

ยกตัวอย่าง ผู้เขียน ชอบออกกำลังกายด้วยการเดินระยะไกล ซึ่งต้องใช้เวลาอยู่กับตัวเองค่อนข้างนานสิ่งที่ได้แน่นอน คือสุขภาพ แต่ข้อสังเกตคือ กีฬาประเภทนี้ทำให้เราฝึกที่จะทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เพราะทุกครั้งที่เดิน เราเปิดรับสิ่งต่างๆ ที่ชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร เพลง

หรือหนังสือเสียง  เป็นทักษะที่ถูกฝึกไปในตัวโดยปริยาย และทำให้สามารถนำมาใช้กับการคิดงานได้พร้อมๆ กัน เรียกว่าสุขภาพก็ได้ สมาธิก็ดี และปรับใช้กับการทำงานได้อย่างสมดุล

 

ดังนั้น การเล่นกีฬาทุกชนิด  นอกจากประโยชน์ทางตรงอย่างการพัฒนาสุขภาพร่างกาย สร้างสปิริตรู้จักน้ำใจนักกีฬา ส่วนประโยชน์ทางอ้อม

ช่วยฝึกให้ผู้เล่นมุ่งมั่นที่จะเอาชนะตัวเองเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายในกีฬาได้สำเร็จ  ไม่ว่าจะในบทบาทของทีมหรือกีฬาประเภทเดี่ยวก็ตาม รวมไปถึงที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆ ว่าคนที่เล่นกีฬามักจะรู้จักวิธีเซฟร่างกายเมื่อเกิดอุบัติเหตุมากกว่าคนที่ไม่เล่นกีฬาเลย เพราะจะมีพื้นฐานป้องกันตัวเองจากการบาดเจ็ดของการเล่นกีฬาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

ผู้เขียนอยากให้สังเกตความหลากหลายของทักษะที่เกิดขึ้นเมื่อเราใช้เวลาไปกับงานอดิเรก ซึ่งเข้ากับโลกที่สองสามปีที่ผ่านมาเข้าสู่ยุคที่สถานการณ์โควิด19  รุนแรง ผู้ประกอบการและคนทำงาน หรือผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ต่างต้องทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ ต้องรุดปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ ต้องเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้   ต้องรู้จักปรับวิธีคิดและกลยุทธ์แบบใหม่ๆ ดังนั้นการฝึกฝนและสร้างให้ตัวเองมีทักษะที่หลากหลาย จึงเป็นสิ่งที่คนปัจจุบันไม่ควรตกขบวน ไม่ว่าจะเล่นดนตรี กีฬา หรืองานอดิเรกแบบไหนก็ล้วนแล้วแต่ช่วยเพิ่มพูนทักษะที่เราสามารถนำมาใช้และพัฒนาต่อได้  แต่สำคัญตรงที่เราจะต้องสังเกตและใช้ทักษะนั้นให้เกิดประโยชน์

เหมือนกับคำที่ว่า “การรู้” อย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ แต่ยังต้องทำจนกลายเป็นความเชี่ยวชาญ ถึงจะเกิดลัพธ์ที่ดี   

 



สร้างภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิต เพื่อเติมเต็มศักยภาพอย่างรอบด้าน สู่การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด ..

ก้าวสู่สองทศวรรษกับการดำเนินงานเพื่อสังคม ด้านการ ให้โอกาสทางการศึกษา เพื่อให้เด็กไทยหลุดพ้นความยากจนอย่างยั่งยืน

อ่านบทความ และข่าวอื่นๆ ได้ที่ :

https://thaicity4social.com/news-2/

Facebook โครงการทุนการศึกษา :

https://www.facebook.com/ThaicityScholarship/

© 2020 ThaiCity4Social. All Rights Reserved.

ติดต่อเรา

บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด รธน

1550 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400


02-254-5002

091-119-8101

02-254-5003

เวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 17.30 น.

(พักเที่ยง 12.00 – 13.00 น.)

QUICK LINKS

Post Views: 867