เมื่องานอดิเรก กลายเป็นตัวช่วยให้เกิด แนวคิดแบบลีน (Lean Thinking)

ในทุกๆ งานอดิเรกที่คนเราต่างใช้เวลาเพื่อทำในสิ่งที่ชื่นชอบได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและทักษะความหลากหลายที่เกิดขึ้นในงานอดิเรกก็ล้วนเป็นประโยชน์กับหน้าที่และการทำงาน 


หนึ่งในงานอดิเรกที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และพลังงาน หรือ Energy ในการลงมือทำ อย่างการตกแต่งบ้าน


สำหรับผู้เขียน การตกแต่งบ้าน ทุกครั้งจะมีการกำหนดธีมแต่ละครั้งในการจัดโดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการฝึกฝน


ความคิดสร้างสรรค์นั้นไม่ต้องรีบเร่งแต่ต้องใช้เวลา เมื่อจัดเสร็จแล้วจะทิ้งระยะเวลาไว้และค่อยกลับมาดูและทบทวนใหม่ว่าอยากปรับตรงไหนหรือเพิ่มเติมส่วนใดบ้าง 


ทุกครั้งเมื่อตกแต่งเสร็จจะไม่มีการถ่ายรูปหรือเก็บไว้เป็นต้นฉบับในครั้งต่อๆไป เพราะว่าเป็นกุศโลบาย ที่จะให้ตัวเองได้คิดอะไรใหม่ๆตลอดเวลา ไม่ยึดติดกับกรอบเดิมๆ ฝึกเราให้ต้องคิดใหม่โดยปริยาย


สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาใช้ในการทำงาน  สะสมความคิดสร้างสรรค์   ขณะเดียวกันก็ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ ส่งผลให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นตัวเอง ให้เกิดความคิดใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา


การมีมุมมองที่ใหม่ๆ เสมอ ย่อมส่งผลดีต่อการทำงานอย่างแน่นอน ช่วยให้สมองทำงานสร้างสรรค์ได้บ่อยๆ กระตุ้นให้เคยชินกับการคิดใหม่ มุมมองใหม่ไม่ยึดติดกับกรอบเดิมๆ สอดคล้องกับแนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) แนวคิดที่องค์กรยุคหลังโควิด 19 นำมาปรับใช้ เพื่อปรับการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการลดกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างให้เกิดมูลค่า  พร้อมส่งเสริมการปรับตัวเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


โดยแนวคิดแบบลีนระบุ 8 สิ่งที่จะทำให้องค์กรต้องสูญเปล่า ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ความคิดสร้างสรรค์ หากขาดหรือไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ (Non-utilized Talent) จะทำให้องค์กรไม่ขยับปรับตัวไปไหน  (ผู้สนใจสามารถอ่านแนวคิดลีน ฉบับเต็มของเจฟฟรีย์ ไลเคอร์ (Jeffrey Liker) ได้จากหนังสือวิถีแห่งโตโยต้า The Toyota way ) ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์ที่อยู่ในหลากหลายของกิจกรรมงานอดิเรกคือส่วนหนึ่งของชีวิตที่สามารถนำมาใช้กับบทบาทและหน้าที่ในการทำงานได้ตลอดเวลา



ตอนต่อไปเราจะมาดูงานอดิเรกอื่นๆที่ซ่อนทักษะที่น่าสนใจเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันที่คนยุคใหม่ต่างต้องการความหลากหลายในรูปแบบการใช้ชีวิตไปจนถึงการทำลายขีดจำกัดศักยภาพที่ ที่คนเราสามารถมีมากว่าหนึ่งทักษะที่เชี่ยวชาญ


Post Views: 427