หนึ่งในปัญหาของมนุษย์ทำงานที่มักจะถูกพูดถึงกันเสมอ คือการทำงานกับ“คน” ในองค์กร


ขึ้นชื่อว่าการทำงาน ย่อมประกอบด้วยคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะของผู้ประกอบการ หัวหน้า ลูกน้อง ล้วนแต่ต้องอาศัยกันและกันในการทำงาน เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย

ดังนั้น การเรียนรู้บทบาทของตัวเองเพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความราบรื่นให้กับการทำงานเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นสิ่งที่สามารถปรับที่ตัวเราได้ง่ายกว่าการคาดหวังให้คนอื่นปรับเปลี่ยน ยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดโควิด 19 หลายองค์กรหลายผู้ประกอบการเร่งปรับแผนการดำเนินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยเฉพาะเรื่องบุคลากรในองค์กร

แต่หลายองค์กรก็ไม่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคในเรื่องของการบริหารคนไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่คนในองค์กรติดกับดักของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้มีการแบ่งคนไว้ 3 ประเภท ที่ไม่กล้าจะเปลี่ยนแปลง ได้แก่ (อ้างอิงข้อมูลจาก รายการ Business Connection FM 96.5 โดย คุณทรงพล ชัญมารตรกิจ)

  1. คนที่ติดกับดัก comfort zone คิดว่าที่เป็นอยู่ก็ดีแล้วไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรให้เหนื่อย  จึงมักปล่อยทุกอย่างให้ดำเนินไปเรื่อยๆ ไม่กล้าที่จะก้าวรับความท้าทายใหม่ๆ
  2. คนที่มีสมรรถนะสูง (Competency) คนที่เก่งมากมักจะไม่กล้าหลุดจากสิ่งที่ตัวเองทำการจะเริ่มต้นหรือให้ลองสิ่งใหม่ๆ จึงเป็นเรื่องยาก
  3. ทัศนคติ (Attitude) เป็นกำแพงสำคัญว่าจะปิดหรือเปิดอะไรใหม่ๆหรือไม่  ดังนั้น คนทำงานหรือผู้ประกอบการเอง ควรจะได้ทบทวนว่าตัวเองได้ก้าวไปติดกับดักเหล่านี้หรือไม่ และหาวิธีรับมือเพื่อลดปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวที่เกิดขึ้น

ยกตัวอย่าง เมื่อครั้งที่โครงการทุนการศึกษาฯ ได้ร่วมพูดคุยกับคุณนิ้วกลม นักคิดนักเขียน คนรุ่นใหม่โดยถ่ายทอดสด LIVE ให้ผู้ชมรายการได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและฝากคำถามไว้ ซึ่งผู้ชมรายการได้ให้ความสนใจฝากคำถามถึงวิธีที่จะต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งโครงการทุนการศึกษาฯ ได้ให้แนวทางถึง วิธีการที่จะเป็นตัวช่วยให้คนทำงานได้นำไปใช้ ดังนี้

  1. เปิดใจให้กว้างในการรับฟังความเห็นของผู้อื่น ทั้งด้านที่เห็นด้วยและด้านที่ไม่เห็นด้วย
  2. เป็นผู้ฟังผู้อื่นให้มากกว่าผู้พูด
  3. เก็บข้อมูล วิเคราะห์ นำเสนอกับทีม และต้องรู้จักบทบาทของตัวเองที่อยู่ในทีมและทำหน้าที่ที่ได้รับในบทบาทนั้นให้ดีที่สุดตัวอย่างเช่น หากอยู่ในบทบาทของหัวหน้างาน ก็ต้องเข้าใจศักยภาพและข้อจำกัดของลูกน้องในทีม เพื่อมอบหมายงานให้ตรงกับศักยภาพของเขา หากอยู่ในบทบาทของลูกทีมก็ต้องรู้วิธีบริหารจัดการงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นต้น
  4. เมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจ ต้องกล้าที่จะตัดสินใจ และกล้าที่จะยอมรับหากความคิดเห็นนั้นถูกปฏิเสธ
  5. ลดความคาดหวัง ไม่ยึดติดว่าสิ่งที่ทำจะต้องราบรื่นเสมอไป เพราะทุกการทำงานย่อมมีอุปสรรค 

ทั้งนี้ หากต้องการก้าวไปถึงหัวใจของความสำเร็จในการทำงานที่ไม่ใช่แค่สามารถลดปัญหา และอุปสรรคในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้เท่านั้น แต่ยังสามารถไปถึงเป้าหมายของความสำเร็จในการทำงานได้ นั้นคือ การมีอิทธิบาท 4 ธรรมแห่งความสำเร็จเป็นหลักในการทำงาน

อิทธิบาท 4 ประกอบด้วย

  1. ฉันทะ คือ ความรักงาน-พอใจกับงานที่ทำอยู่
  2. วิริยะ คือ ขยันหมั่นเพียรกับงาน
  3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่รับผิดชอบงาน
  4. วิมังสา คือ การพินิจพิเคราะห์ หรือ ความเข้าใจทำ


ซึ่งเป็นหนทางของความเจริญก้าวหน้า และเป็นประตูสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนแก่ผู้ที่นำไปใช้

 

ติดต่อเรา

บริษัท กรุงไทยการไฟฟ้า จำกัด รธน

1550 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400


02-254-5002

091-119-8101

02-254-5003

เวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ 08.30 – 17.30 น.

(พักเที่ยง 12.00 – 13.00 น.)

QUICK LINKS

© 2020 ThaiCity4Social. All Rights Reserved.


สร้างภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิต เพื่อเติมเต็มศักยภาพอย่างรอบด้าน สู่การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด ..

ก้าวสู่สองทศวรรษกับการดำเนินงานเพื่อสังคม ด้านการ ให้โอกาสทางการศึกษา เพื่อให้เด็กไทยหลุดพ้นความยากจนอย่างยั่งยืน

อ่านบทความ และข่าวอื่นๆ ได้ที่ :

https://thaicity4social.com/news-2/

Facebook โครงการทุนการศึกษา :

https://www.facebook.com/ThaicityScholarship/

Post Views: 599